วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ แจ่มถิ่น
วันพุธ ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
เวลาเรียน 08.30-12.20น.


          วันนี้มีการออกมารายงานหน้าชั้นเรียนตามกลุ่มที่อาจารย์ได้มอบหมายไว้ ตามหัวข้อดังนี้
                           1. จำนวนและการดำเนินการ                           2. รูปทรงเรขาคณิต                           3. การวัด                           4. พีชคณิต                           5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น



กลุ่มจำนวนและการดำเนินการ
       จำนวนและการดำเนินการ  คือ  การรวมและเเยกกลุ่ม เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง





กลุ่ม รูปทรงเรขาคณิต
รูปทรงเรขาคณิต  หมายถึง  รูปที่มีส่วนเป็นพื้นผิว   ส่วนสูง  และส่วนลึก  หรือหนา




รูปทรงเรขาคณิตสามารถนำใช้เป็นการเรียนการสอนผ่านการเล่นของเด็กแล้วให้เด็กได้ใช้จินตนาการ เช่น  นำรูปทรงสามเลี่ยม  รูปทรงสี่เหลี่ยม  มาประกอบเป็นบ้าน ฯลฯ



 กลุ่มการวัด 
          การวัด  คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนัก ด้วยการการจับเวลา /การวัดระยะทาง / การชั่งน้ำหนักหรือการตวง เราเรียกวิธีการซึ่งใช้ข้างต้นรวม ๆ กันว่าการวัด เช่นการชั่งน้ำหนัก เรียกว่า การวัดน้ำหนัก การตวง เรียกว่า การวัดปริมาตร          หน่วยการวัด คือ การบอกปริมาตรที่ได้จากการวัดต้องมีหน่วยการวัดจะใช้ตามระบบหน่วยสากล(International System of Unit) ซึ่งเรียกโดยย่อว่า หน่วย IS เช่น กรัม กิโลกรัม มิลลิกรัม เมตร กิโลเมตร วินาที ฯลฯ             การเลือกหน่วยในการวัดควรให้เหมาะสมกับสิ่งที่ใช้วัดเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและการอ่านค่าจากการวัด อาจทำให้ค่าการวัดคลาดเคลื่อนได้ ค่าที่ได้จากการวัดจึงถือเป็นค่าประมาณที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงการบอกค่าประมาณของปริมาณของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่ได้วัดจริง  เรียกว่า  การคาดคะเนหน่วยรากฐานของระบบ  SI  มี  7  หน่วยที่ใช้วัดปริมาณมูลฐาน  ( basic  quantity ) ได้แก่
                       เมตร         ( Meter : m )                                  เป็นหน่วยใช้วัดความยาว                       กิโลเมตร ( Kilogramme : kg )                         เป็นหน่วยใช้วัดมวล                       วินาที      ( Second : s )                                   เป็นหน่วยใช้วัดเวลา                       แอมแปร์  ( Ampere : A )                                 เป็นหน่วยใช้วัดกระแสไฟฟ้า                       เคลวิน     ( Kelvin : K )                                   เป็นหน่วยใช้วัดอุณหภูมิ                       แคนเดลา ( Candela : cd )                               เป็นหน่วยใช้วัดความเข้มของการส่องสว่าง                       โมล        ( Mole : mol )                                   เป็นหน่วยใช้วัดปริมาณของสาร


กลุ่มพีชคณิต
            พีชคณิต คือ  เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์  การแก้ปัญหา โดยใช้สมการคณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มาศึกษาการจําแนกประเภท คุณสมบัติ และ โครงสร้างของระบบจํานวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็นสําคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่า
นั้นด้วย 



กลุ่มการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

            ความน่าจะเป็น  หมายถึง ค่าของโอกาส หรือความเป็นไปได้ ซึ่่งสามารถวัดค่าได้เป็นตัวเลข   
( 0 ถึง 1 )   ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เข้าใกล้ 1 หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นมาก 
ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เข้าใกล้ 0 หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นน้อยมาก 
ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เป็นดัชนีวัดขนาดการเกิดของเหตุการณ์ ซึ่งสามารถจะนำไป
ประยุกต์ใช้ตัดสินใจดำเนินงานภายใต้สภาวะการณ์ไม่แน่นอน 
               
             ในการทดลองหรือการกระทำใดๆที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ไม่แน่นอนหรือผลลัพธ์  มากกว่าหนึ่งผลลัพธ์ เรียกว่า การทดลองสุ่ม 
              ผู้เรียนสามารถรวบรวมข้อมูลและจำแนกข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวที่พบเห็นในชีวิตประจำวันและอภิปรายประเด็นต่าง ๆจากแผนภูมิรูปภาพและแผนภูมิแท่งได้
ตัวอย่างที่เพื่อนนำเสนอ  เช่น จงหาว่าเสื้อกับกางเกงจับคู่ได้กี่ชุด  มีเสื้อ 2 ตัว และกางเกง 1 ตัว ดังนั้นก็  ได้เสื้อกับกางเกง 1 ชุด






ประโยชน์ที่ได้รับ
            สามารถนำความรู้ที่ได้ไปบูรณาการจัดประสบการณ์ทางคณิตสาสตร์ให้เด็กได้รับความรู้ ความสนุกสนาน  เพื่อพัฒนาพัฒนาการของเด็กให้เหมาะสมกับวัย ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี






บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ แจ่มถิ่น
วันพุธ ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
 เวลาเรียน 08.30-12.20น.


คำตอบของเด็กมักมีหลายคำตอบ               
          กระบวนการคิดมากกว่าคำตอบจุดหมาย                      
            - เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การรู้จักคำศัพท์พัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์                    การบวก ลบ รู้จักกระบวนการหาคำตอบ                     
            - ฝึกฝน                   
            - มีความรู้ความเข้าใจ                                          
            - ค้นหาคำตอบด้วยตนเองทักษะ                                                                     1. การสังเกต                 
            - การใช้ประสาท                 
            - เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์   
 2. การจำแนกประเภท                 
            - การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์                
            - การจำแนก ความเหมือน ความต่าง ความสัมพันธ์     
 3. การเปรียบเทียบ                
            - อาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป              
            - เข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะสิ่งนั้นๆและรู้จักคำศัพท์ที่ต้องใช้     
 4. การจัดลำดับ                  
            - ทักษะเปรียบเทียบขั้นสูง              
            - จัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์       
 5. การวัด                  
            - มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์         
            - การวัด อุณหภูมิ ระยะทาง         
 6. การนับ                  
            - เด็กชอบนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย                
            - การท่องจำนั้นจะมีความหมายต่อเพื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง        
 7. รูปทรงและขนาด                    
            - เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรุปทรงและขนาดก่อนเข้าโรงเรียน       
             "การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช่หน่วยมาตรฐานในการวัด"
       
          เมื่ออาจารย์สอนเนื้อหาเสร็จ ก็ได้แจกกระดาษA4 สีไม้และสีเมจิก และให้นักศึกษาวาดรูปเป็นสามภาพว่า... ก่อนออกจากบ้านมาเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมผ่านอะไรมาบ้าง
           
           จากกิจกรรมนี้                      
                สามารถใช้กับเด็กปฐมวัยให้เกิดทักษะการวัดในระยะเดินทาง การจัดลำดับว่าเจออะไรบ้างก่อนหลัง เด็กๆได้ฝึกวาดรูปรูปทรงและขนาด การสังเกตว่าเด็กได้สนใจและจำได้