บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ แจ่มถิ่น
วันพุธ ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
เวลาเรียน 08.30-12.20น.
คำตอบของเด็กมักมีหลายคำตอบ
กระบวนการคิดมากกว่าคำตอบจุดหมาย - เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การรู้จักคำศัพท์พัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ การบวก ลบ รู้จักกระบวนการหาคำตอบ
- ฝึกฝน
- มีความรู้ความเข้าใจ
- ค้นหาคำตอบด้วยตนเองทักษะ 1. การสังเกต
- การใช้ประสาท
- เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์
2. การจำแนกประเภท
- การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์
- การจำแนก ความเหมือน ความต่าง ความสัมพันธ์
3. การเปรียบเทียบ
- อาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป
- เข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะสิ่งนั้นๆและรู้จักคำศัพท์ที่ต้องใช้
4. การจัดลำดับ
- ทักษะเปรียบเทียบขั้นสูง
- จัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์
5. การวัด
- มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
- การวัด อุณหภูมิ ระยะทาง
6. การนับ
- เด็กชอบนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
- การท่องจำนั้นจะมีความหมายต่อเพื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง
7. รูปทรงและขนาด
- เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรุปทรงและขนาดก่อนเข้าโรงเรียน
"การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช่หน่วยมาตรฐานในการวัด"
เมื่ออาจารย์สอนเนื้อหาเสร็จ ก็ได้แจกกระดาษA4 สีไม้และสีเมจิก และให้นักศึกษาวาดรูปเป็นสามภาพว่า... ก่อนออกจากบ้านมาเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมผ่านอะไรมาบ้าง
จากกิจกรรมนี้
สามารถใช้กับเด็กปฐมวัยให้เกิดทักษะการวัดในระยะเดินทาง การจัดลำดับว่าเจออะไรบ้างก่อนหลัง เด็กๆได้ฝึกวาดรูปรูปทรงและขนาด การสังเกตว่าเด็กได้สนใจและจำได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น