วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตสาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557
 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

        สัปดาห์นี้เป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้าย หลังจากนั้นก็สอบ วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอสื่อการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย แต่ข้าพเจ้าเลือกทำคนเดียว

ชื่อสื่อ กระบอกร้อยล้าน





วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
วันพุธ ที่ 29 มกราคม 2557
 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


      วันนี้อาจาย์ตฤณ ได้ให้นักศึกษาจับกลุ่มละ 5 คน ทำกิจกรรม เขียนแผนจากกิจกรรมที่เรียนมา ให้ทำ 3 กิจกรรม กลุ่มข้าพเจ้า ใช้กิจกรรมที่เกี่ยวกับการเล่นลูกบอล เพราะลูกบอลมีทรงเรขาคณิตที่มีลักษณะเป็นวงกลม นักเรียนได้ใช้ทักษะในการเล่นทางด้านร่างกาย โดยควบคุมมือและนิ้วมือในการจับลูกบอลเพื่อที่จะโยนเล่น สรุปกิจกรรมนี้คุณครูและนักเรียนได้ร่วมกันเล่นลูกบอล โดยครูได้สังเกตนักเรียนว่าจับลุกบอลถูกต้องหรือไม่
           ภาพระหว่างการทำกิจกรรม







วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่8
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ แจ่มถิ่น
วันพุธ ที่ 22 มกราคม 2557
 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


     กิจกรรมในวันนี้ ให้แบ่งกลุ่ม 9กลุ่ม จากนั้นให้ช่วยกัน วาดรูป ตัด ติด กระดาษสี ลงกระดาษแข็ง ตามความคิดสร้างสรรค์ จากนั้นก็ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน กลุ่มข้าพเจ้าได้ให้ชื่อภาพนี้ว่า "รถไฟปู๊น ปู๊น" 








ระหว่างทำกิจกรรมเพื่อนๆรุมถ่ายรูป ราวกับนักข่าวมืออาชีพ ^^



รวมผลงานแต่ละกลุ่ม




จากนั้นก็ให้แบ่งกลุ่มใหญ่ๆออกเป็น 3 กลุ่ม โดยอาจารย์ได้เปิดให้ดูตัวอย่าง ดังนี้

                       ตัวอย่างที่1




                     ตัวอย่างที่ 2



                      ตัวอย่างที่ 3




                     ตัวอย่างที่ 4



                      ตัวอย่างที่ 5




กลุ่มข้าพเจ้าได้ทำเรื่อง การเปรียบเทียบวัวกับแมว





                จากกิจกรรมนี้ ได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม ได้ใช้ความคิดร่วมกัน เพื่อให้ชื้นงานออกมาสมบรูณ์ ฝึกการพูดหน้าชั้นให้กล้าแสดงออก


วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่7
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ แจ่มถิ่น
วันพุธ ที่ 15 มกราคม 2557
 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


            กิจกรรมในวันนี้ ทำ Big Book โดยอาจารย์และนักศึกษาได้ร่วมกันแต่งนิทานขึ้นมา โดยตัวละครหลักคือ เจ้าหมู เมื่อแต่งเสร็จก็ได้แบ่งเรื่องของนิทานออกเป็นกลุ่ม พอทำเสร็จก็นำมารวมเป็นเล่มเดียวกัน

นิทาน เรื่องลูกหมูเก็บฟืน
           กาลครั้งหนึ่งมีบ้านอยู่สามหลัง หลังที่หนึ่งมีรูปร่างเป็นวงกลม หลังที่สองมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม และหลังที่สามมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม ในบ้านแต่ละหลังมีลูกหมูอาศัยอยู่ หลังละสองตัว หมูแต่ละตัวจะออกไปทำงานทุกเช้า หมูที่อยู่บ้านหลังที่เป็นวงกลมต้องเดินทางไปที่ทำงานซึ่งไกลมาก หมูที่อยู่บ้านหลังวงกลมเดินทางไปเก็บฟืนในป่า ซึ่งในป่ามีฟืนเยอะแยะเลย เจ้าหมูสองตัวนี้ก็เลยเรียกเพื่อนที่อยู่บ้านหลังสี่เหลี่ยมกัับสามเหลี่ยม เพื่อมาช่วยเก็บฟืนในป่า หมูทั้งหกตัว ช่วยกันนับฟืนที่เก็บได้มีทั้งหมดสิบท่อน แล้วหมูก้นำฟืนสามท่อนไปจุดไฟเพื่อทำกับข้าว หมูก็เลยเหลือฟืนทั้งหมดเจ็ดท่อน และนำฟืนที่เหลือไปเก็บใช้ในวันต่อไป



ระหว่างทำกิจกรรม


             จากกิจกรรมทำให้เราได้ใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในการแต่งนิทาน การวาดภาพประกอบเนื้อเรื่อง ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม ให้มีความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยนำทักษะเลขาคณิต มาเป็นส่วนประกอบในการวาดภาพของนิทาน และสามรถนำนิทานที่แต่งขึ้นนี้ไปสอนเด็กๆได้อีกด้วย


วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่6
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ แจ่มถิ่น
วันพุธ ที่ 8 มกราคม พ.ศ.2557
 เวลาเรียน 08.30-12.20น.   

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
      เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
      ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมในด้านต่างๆทางคณิตศาสตร์ ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา 
       สาระและมาฐานการเรียนรู้
          - สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ 
          - สาระที่ 2 การวัด
          - สาระที่ 3 เรขาคณิต
          - สาระที่ 4 พีชคณิต
          - สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความจะเป็น
          - สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical thinking)
       จำนวนนับ1 ถึง20 ,เข้าใจหลักการนับ ,รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย ,รุ้จักจำนวนับ ,เปรียบเทียบ เรียงลำดับ-การรวมและการแยกกลุ่ม              
2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน เวลา ,เปปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร ,รู้จักเงินเหรียญบาทและธนบัตร ,เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา เช่น วันนี้ ตอนนี้ เมื่อวาน ตอนสายๆ เป็นต้น
3. มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปทางเรขาคณิต
3.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต     -ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง     -รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ4.มีความรู้ความเข้าใจแบบรูป ของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
5.มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่ายเด็กจะทำได้ตั้งแต่อนุบาล3 ขึ้นไป
6.มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น


สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
     มาตรฐาน ค.ป.1.1 เข้าใจถึงความหลายหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง   

สาระที่2 การวัด

     มาตรฐาน ค.ป.2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร  และเวลา

สาระที่3 เรขาคณิต

      มาตรฐาน ค.ป.3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง
      มาตรฐาน ค.ป.3.2 รุ้จักรูปจำแนกเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการวัดและการกระทำ
      2มิติ กับ 3มิติ
รูปเรขาคณิตสามมิติ และรูปเรขาสองมิติ
     ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก(3มิติ)
     วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหล่ยม
     การสร้างสรรค์งาน ศิลปะจากรูปเรขาคณิต สามมิติ และสองมิติ
สองมิติ จับต้องไม่ได้เพราะแบนไปกับกระดาษ (สามรูป สองมิติ)
ถ้าพับแล้วกางออกมาเด็กต้องตอบว่า วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม

สาระที่4 พีชคณิต

       มาตรฐาน ค.ป.4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ รูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์กับอย่างใดอย่างหนึ่ง




     1.สองช่องที่ว่างอยู่ต้องเติมอะไร สีชมพูกับสีฟ้า





      2.สองช่องที่หายไปต้องเติมรูปอะไรบ้าง (สี,รูปร่าง)




     3.ต้องเติมอะไร วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม 





สาระที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
        มาตรฐาน ค.ป.5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยกับตัวเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ

                          ตัวอย่าง

สาระที่6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
         การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมดยงความรุ้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิริเริ่มสร้างสรรค์

          วันนี้อาจารย์เบียร์ให้ทำกิจกรรม โดยมีอุปกรณ์ดังนี้ กระดาษเอสี่1แผ่น สีไม้ กระดาษสี สีเมจิก กรรไกร และแบบทาบรูปทรงเรขาคณิตต่างๆ ข้าพเจ้าเลือกรุปสามเหลี่ยม โดยอาจารย์ให้วาดรูปสัตวือะไรก็ได้และตกแต่งให้สวยงาม
          จากกิจกรรมนี้ ได้รู้จักรูปทรงเรขาคณิต ได้ปฏิบัติลงมือทำ

                                       




วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่5
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ แจ่มถิน
วันพุธที่4 ธันวาคม พ.ศ.2556
 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

กลุ่มที่1 จำนวนและการดำเนินการ
      ก่อนเข้าสู่กิจกรรม เพื่อนกลุ่ม1 ได้ให้เพื่อนๆในห้องร่วมกันร้องเพลงออกกำลังกาย ซึ่งเป็นเพลงเกี่ยวกับเรื่องการนับและได้นำเสนอจำนวน โดยการให้เปรียบเทียบผลไม้

กลุ่มที่2 รูปทรงเรขาคณิต
      ครูอาจจะถามเด็กๆ ก่อนว่าอวัยวะส่วนไหนของร่างกายเด็กๆ ที่สามารถทำเป็นรูปทรงได้บ้าง เช่น รูปสามเหลี่ยม วงกลม
       ตัวอย่างที่1  ครูนำรูปสี่เหลี่ยมมาให้เด็กๆดู แล้วให้เด็กๆใช้อวัยวะของร่างกายทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม และถามเด็กๆว่า รูปสี่เหลี่ยมสามรถเป็นอะไรได้บ้าง อาจจะยกตัวอย่างให้เด็กๆดูก่อน เช่น กล่องของขวัญเป็นรูปสี่เหลี่ยม จากนั้นเด็กๆ ตอบโดยการพูดหรือวาดรูปก็ได้
       ตัวอย่างที่2  ครูให้เด็กๆสังเกตในห้องเรียนว่ามีอะไรบ้างที่มีลักษณะเป็นรูปทรงเรขาคณิต ให้หยิบรูปทรงเรขาคณิตที่รู้จักมาให้เพื่อนดูและครูคอยแนะนำรูปทรงที่เด็กยังไม่รู้จักแล้วสรุปถึงรูปทรงที่เด็กรู้จักและประเภทของรูปทรงอีกครั้ง จากนั้นให้เด็กนำรูปทรงต่างๆ มาต่อเติมตามจินตนาการและนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน

       ประโยชน์ที่ได้จากรูปทรง
             การสอนเรื่องรุปร่างและรูปทรงเด็กจะได้ฝึกการใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อของตนเอง
             ช่วยให้เด็กมีประสบการณ์กว้างขึ้น เด็กได้รู้จักรูปร่างและรูปร่างสิ่งต่างๆรอบตัว
             เด็กได้มีโอกาสคิดและตัดสินใจจากสิ่งเห็นคือ รูปทรงและวัตถุที่มีรูปร่างต่างๆ เด็กได้เปรียบเทียบ  เห็นความแตกต่าง และความคล้าย

กลุ่มที่3 การวัด
        ควรนำสิ่งของจริงมาให้เด็กดูและสัมผัส ซึ่งเด็กในัยนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่ตนเองเห็นและตอบตามสิ่งที่เห็นในขณะนั้น
        * การวัดของเด็กปฐมวัยได้ใช้หน่วยมาตรฐานในการวัด โดยการวัดของเด็กนั้นจะเอาสิ่งของต่างๆ มาเรียงต่อกัน เช่น ดินสอ ไม้บรรทัด เป็นต้น
       กิจกรรมที่เพื่อนกลุ่มนี้นำมาเสนอ คือ นำลูกปิงปอง สีส้ม สีขาว สีน้ำเงิน มารวมกันแล้ว สุ่มจับมาหนึ่งลูกทายว่าจะออกมาสีไหน สีส้ม สีขาว หรือ สีน้ำเงิน
       ถ้าสมมุติ มีลูกปิงปอง 2สี คือ ส้มกับแดง ถ้าถามเด็กว่า ครูจะจับออกมา 1 ลูก เด็กๆคิดว่าจะจับได้สีไหน เด็กจะตอบไม่เหมือนกัน
    



กลุ่มที่4 พีชคณิต
        กิจกรรมที่เพื่อนกลุ่มนี้นำเสนอ คือ หาภาพที่หายไปมาเติมในช่องว่างที่กำหนดให้  ที่คิดว่ามันสัมพันธ์กัน  เช่น มีช่องว่างให้เติม         ช่องที่  1 เป็น แมว   ช่องที่ 2 เป็น ลิง   ช่องที่ 3 เป็น ไก่ช่องที่ 4 เป็น แมว   ช่องที่ 5 เป็น ลิง    ช่องที่ 6 เป็น.....



กลุ่มที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
        ตัวอย่างที่1  การโยนหรียญบาท 1เหรียญ 1ครั้ง ผลที่เกิดขึ้นได้ คือ ขึ้นหัว ขึ้นก้อย 
        ตัวอย่างที่2  สมมุติว่ามีลูกปิงปอง2 สีอยู่ในกล่อง คือสีขาวกับสีน้ำเงิน ครูถามเด็กๆ ว่า ถ้าครูจับออกมา 1ลูก เด็กๆคิดว่าครูจะจับได้สีอะไร เด็กๆแต่ละคนจะตอบไม่เหมือนกัน บางคนก็ตอบสีขาว บางคนก็ตอบสีน้ำเงิน
       กิจกรรมที่เพื่อนกลุ่นี้นำมาเสนอ คือนำลูกปิงปอง สีส้ม สีขาว สีน้ำเงิน มารวมกันแล้ว สุ่มจับมาหนึ่งลูก  ทายว่าจะออกมาสีไหน  สีส้ม  สีขาว หรือ  สีน้ำเงิน       ถ้าสมมติว่า  ลูกปิงปอง  2 สี คือ ส้ม กับ แดง  ถ้าถามเด็กว่า ครูจะจับออกมา 1 ลูก เด็กๆคิดว่าจะจับได้สีไหน  เด็ก จะตอบไม่เหมือนกัน 



กิจกรรมวันนี้ 
     อาจาย์ให้วาดรุปวงกลมกลงหน้ากระดาษ แล้วให้เขียนเลขที่ตัวเองชอบลงในวงกลม หลังจากนั้นให้วาดรูประบายสีกลีบดอกไม้ตามที่เขียนเลขไว้ในวงกลม
จากิจกรรมนี้ ได้ฝึกใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
   
                         

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ แจ่มถิ่น
วันพุธ ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
เวลาเรียน 08.30-12.20น.


          วันนี้มีการออกมารายงานหน้าชั้นเรียนตามกลุ่มที่อาจารย์ได้มอบหมายไว้ ตามหัวข้อดังนี้
                           1. จำนวนและการดำเนินการ                           2. รูปทรงเรขาคณิต                           3. การวัด                           4. พีชคณิต                           5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น



กลุ่มจำนวนและการดำเนินการ
       จำนวนและการดำเนินการ  คือ  การรวมและเเยกกลุ่ม เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง





กลุ่ม รูปทรงเรขาคณิต
รูปทรงเรขาคณิต  หมายถึง  รูปที่มีส่วนเป็นพื้นผิว   ส่วนสูง  และส่วนลึก  หรือหนา




รูปทรงเรขาคณิตสามารถนำใช้เป็นการเรียนการสอนผ่านการเล่นของเด็กแล้วให้เด็กได้ใช้จินตนาการ เช่น  นำรูปทรงสามเลี่ยม  รูปทรงสี่เหลี่ยม  มาประกอบเป็นบ้าน ฯลฯ



 กลุ่มการวัด 
          การวัด  คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนัก ด้วยการการจับเวลา /การวัดระยะทาง / การชั่งน้ำหนักหรือการตวง เราเรียกวิธีการซึ่งใช้ข้างต้นรวม ๆ กันว่าการวัด เช่นการชั่งน้ำหนัก เรียกว่า การวัดน้ำหนัก การตวง เรียกว่า การวัดปริมาตร          หน่วยการวัด คือ การบอกปริมาตรที่ได้จากการวัดต้องมีหน่วยการวัดจะใช้ตามระบบหน่วยสากล(International System of Unit) ซึ่งเรียกโดยย่อว่า หน่วย IS เช่น กรัม กิโลกรัม มิลลิกรัม เมตร กิโลเมตร วินาที ฯลฯ             การเลือกหน่วยในการวัดควรให้เหมาะสมกับสิ่งที่ใช้วัดเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและการอ่านค่าจากการวัด อาจทำให้ค่าการวัดคลาดเคลื่อนได้ ค่าที่ได้จากการวัดจึงถือเป็นค่าประมาณที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงการบอกค่าประมาณของปริมาณของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่ได้วัดจริง  เรียกว่า  การคาดคะเนหน่วยรากฐานของระบบ  SI  มี  7  หน่วยที่ใช้วัดปริมาณมูลฐาน  ( basic  quantity ) ได้แก่
                       เมตร         ( Meter : m )                                  เป็นหน่วยใช้วัดความยาว                       กิโลเมตร ( Kilogramme : kg )                         เป็นหน่วยใช้วัดมวล                       วินาที      ( Second : s )                                   เป็นหน่วยใช้วัดเวลา                       แอมแปร์  ( Ampere : A )                                 เป็นหน่วยใช้วัดกระแสไฟฟ้า                       เคลวิน     ( Kelvin : K )                                   เป็นหน่วยใช้วัดอุณหภูมิ                       แคนเดลา ( Candela : cd )                               เป็นหน่วยใช้วัดความเข้มของการส่องสว่าง                       โมล        ( Mole : mol )                                   เป็นหน่วยใช้วัดปริมาณของสาร


กลุ่มพีชคณิต
            พีชคณิต คือ  เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์  การแก้ปัญหา โดยใช้สมการคณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มาศึกษาการจําแนกประเภท คุณสมบัติ และ โครงสร้างของระบบจํานวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็นสําคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่า
นั้นด้วย 



กลุ่มการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

            ความน่าจะเป็น  หมายถึง ค่าของโอกาส หรือความเป็นไปได้ ซึ่่งสามารถวัดค่าได้เป็นตัวเลข   
( 0 ถึง 1 )   ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เข้าใกล้ 1 หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นมาก 
ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เข้าใกล้ 0 หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นน้อยมาก 
ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เป็นดัชนีวัดขนาดการเกิดของเหตุการณ์ ซึ่งสามารถจะนำไป
ประยุกต์ใช้ตัดสินใจดำเนินงานภายใต้สภาวะการณ์ไม่แน่นอน 
               
             ในการทดลองหรือการกระทำใดๆที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ไม่แน่นอนหรือผลลัพธ์  มากกว่าหนึ่งผลลัพธ์ เรียกว่า การทดลองสุ่ม 
              ผู้เรียนสามารถรวบรวมข้อมูลและจำแนกข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวที่พบเห็นในชีวิตประจำวันและอภิปรายประเด็นต่าง ๆจากแผนภูมิรูปภาพและแผนภูมิแท่งได้
ตัวอย่างที่เพื่อนนำเสนอ  เช่น จงหาว่าเสื้อกับกางเกงจับคู่ได้กี่ชุด  มีเสื้อ 2 ตัว และกางเกง 1 ตัว ดังนั้นก็  ได้เสื้อกับกางเกง 1 ชุด






ประโยชน์ที่ได้รับ
            สามารถนำความรู้ที่ได้ไปบูรณาการจัดประสบการณ์ทางคณิตสาสตร์ให้เด็กได้รับความรู้ ความสนุกสนาน  เพื่อพัฒนาพัฒนาการของเด็กให้เหมาะสมกับวัย ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี